ภาวะข้อไหล่ติด
ข้อไหล่เป็นข้อที่มีพิสัยการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ทำให้เราใช้แขนและมือทำงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ หากข้อไหล่ยึดหรือเคลื่อนไหวได้ไม่ดี จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของแขนและมือลดลง
ข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดในการเล่นกีฬาโดยสาเหตุเกิดจากมีการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกิดการบาดเจ็บขึ้น ซึ่งเดิมเราเคยมองว่าข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง แต่เมื่อไม่นานมานี้ความเห็นดังกล่าวได้เปลี่ยนไป เพราะการรักษาที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้มีอาการปวดและข้อเท้าแพลงซ้ำ ๆ ไปอีกหลายปี
อาการปวดข้อศอกทางด้านข้าง (lateral side elbow pain) มีหลายสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะเอ็นประกับด้านข้างสึกเสื่อม (tennis elbow, lateral epicondylitis) ซึ่งพบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ ในโรคอื่นที่เกิดในบริเวณนี้ได้ เช่น ภาวะระคายเคืองเส้นประสาท posterior interosseous หรือ ผิวข้อของกระดูกอ่อนเสียหาย หรือ ภาวะพังผืดในข้อศอกบดเบียดรัด (impinge lateral plica) และอื่นๆ
ข้อไหล่ จริงๆ แล้ว หมายถึง ข้อสองข้อ บริเวณไหล่ 1. ข้อระหว่างหัวกระดูกต้นแขนกับเบ้าของกระดูกสะบัก (Glenohumeral Joint) 2. ข้อระหว่างปลายกระดูกไหปลาร้ากับกระดูกสะบัก (Acromioclavicular Joint) แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะภาวะข้อไหล่เสื่อมของข้อ Glenohumeral Joint ข้อเสื่อม หมายถึง ภาวะที่กระดูกอ่อนของข้อซึ่งจะปกคลุมทั้งในส่วนของหัวกระดูกและเบ้าเกิดการเสื่อมเสียหาย ทำให้ช่องว่างในข้อแคบลง จนในที่สุดกระดูกทั้งสองด้านก็จะมาเสียดสีกัน และเกิดกระดูกงอก (Bony Spurs) ขึ้นรอบๆ ข้อ
ข้อสะโพกเป็นข้อต่อระหว่างหัวกระดูกต้นขาซึ่งมีลักษณะกลมเคลื่อนไหวอยู่ในเบ้าสะโพก ทำให้ข้อสะโพกมีทิศทางการเคลื่อนไหวเป็นอิสระได้หลายทิศทาง ข้อสะโพกมีความสำคัญในการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยมีความสำคัญในการถ่ายแรงจากลำตัวลงสู่ขาทั้งสองข้าง ซึ่งแรงกดที่ข้อสะโพกก็จะแตกต่างกันไปตามแต่กิจกรรมการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ในการยืนลงน้ำหนักที่ขาทั้งสองขาจะมีแรงกดที่ข้อสะโพกเพียงร้อยละ 30 ของน้ำหนักตัว แต่ในขณะที่วิ่งแรงกระทำอาจเพิ่มไปถึง 4.5 เท่าของน้ำหนักตัว ที่ขอบเบ้าสะโพกยังมีกระดูกอ่อนที่เรียกว่า “เลบรัม” (labrum) ซึ่งช่วยเพิ่มความลึกของเบ้าสะโพกและช่วยกระจายแรง นอกจากนี้ยังมีเอ็นของข้อสะโพกและกล้ามเนื้อหลายกลุ่มห่อหุ้มข้อสะโพกอยู่โดยรอบ ช่วยเสริมความมั่นคงของข้อสะโพก
ข้อไหล่เป็นข้อที่สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทางและมีความจำเป็นยิ่งต่อการใช้งานมือหยิบจับสิ่งต่างๆทั้งใกล้และไกลตัว เพื่อให้ข้อไหล่สามารถแคลื่อนไหวได้เช่นนั้นต้องอาศัยกล้ามเนื้อข้อไหล่ที่มีความแข็งแรงและสามารถทำงานประสานกันได้ดี การฉีกขาดของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่พบได้บ่อย ทั้งในวัยหนุ่มสาวและสูงอายุส่งผลต่อการทำงานและใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยและการรักษาภาวะเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดทั้งแบบไม่ผ่าตัดและด้วยการผ่าตัดมีการพัฒนาไปอย่างมากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
ดาวน์โหลดจดหมายข่าว TOSSM ฉบับที่ 2 ปี 2557